ศบค. เผยไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตเพิ่ม 3 ศพ เป็นพนักงานเสิร์ฟเสียชีวิตที่บุรีรัมย์ ส่วนอีก 2 ราย ติดเชื้อจากคนใกล้ชิดเที่ยวสถานบันเทิง
วันที่ 19 เมษายน 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 ศพ สะสมระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2594 รวม 10 ศพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้เสียชีวิตรายที่ 102 (ระลอกใหม่เดือนเมษายน รายที่ 8)
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 56 ปี อาชีพ พนักงานเสิร์ฟในสถานบันเทิง กรุงเทพฯ
โรคประจําตัว โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบ ที่อยู่ขณะป่วย จ.บุรีรัมย์
- วันที่ 13 เม.ย. 3564 มีอาการไอ นอนพักรักษาอยู่บ้าน
- วันที่ 17 เม.ย. 2564 มีอาการเหนื่อยมากขึ้น หายใจติดขัด ติดต่อรถพยาบาลมารับเข้า รพ. ต่อมามีอาการแย่ลง เจ้าหน้าที่ทําการฟื้นคืนชีพ ไม่ดีขึ้น และผลยืนยันพบเชื้อ COVID-19
- วันที่ 18 เม.ย. 2564 เสียชีวิต ในเวลา 00.31 น.
ผู้เสียชีวิตรายที่ 103 (ระลอกใหม่เดือนเมษายน รายที่ 9)
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 84 ปี โรคประจําตัว โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่อยู่ขณะป่วย กรุงเทพฯ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า (หลานชายซึ่งทํางานในสถานบันเทิง รัชดา กรุงเทพฯ)
- วันที่ 8 เม.ย. 2564 มีอาการไข้ ไอ เหนื่อยหอบ x-ray เป็นปอดอักเสบรุนแรงแพทย์พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ
- วันที่ 10 เม.ย. 2554 ผลยืนยันพบเชื้อ COVID-19 วันที่ 16 เม.ย. 2564 ความดันโลหิตตก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ผู้เสียชีวิตรายที่ 104 (ระลอกใหม่เดือนเมษายน รายที่ 10)
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 61 ปี อาชีพค้าขาย โรคประจําตัว โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไทรอยด์ ที่อยู่ขณะป่วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 6 เม.ย. 2564 ร่วมรับประทานอาหารกับผู้ป่วยรายยืนยันก่อนหน้า ที่สถานบันเทิงในหัวหิน
- วันที่ 8 เม.ย. 2564 ไปตรวจหาเชื้อ COVID-19 เนื่องจากได้รับแจ้งว่าเพื่อนๆ พบเชื้อ
- วันที่ 10 เม.ย. 2564 ผลยืนยันพบเชื้อ COVID-19
- วันที่ 11 เม.ย. 2564 เข้ารับการรักษาในรพ.
- วันที่ 18 เม.ย. 2564 มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา.